นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัท เซนเซส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการชี้แจงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและเพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลว่าบริษัทได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะอธิบายให้ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงวัตถุประสงค์ การดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ซึ่งต่อไปจะรวมเรียกว่า“การประมวลผล”) ตลอดจนสิทธิตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจึงใคร่ขอให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลศึกษาและทำความเข้าใจนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้อย่างละเอียด
1. นิยาม
หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นในนโยบายฉบับนี้ ให้ถ้อยคำต่อไปนี้ให้มีความหมายตามที่ระบุไว้ข้างท้ายนี้
• |
“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือฉบับอื่นที่อาจมีการแก้ไขในภายหลัง รวมถึงพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ คำสั่ง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
|
• |
“การให้บริการ” หมายถึง การซื้อ การขาย การรับจ้าง การให้บริการ หรือการดำเนินการอื่นใดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
|
• |
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งข้อมูลทุกประเภทที่สามารถบ่งชี้ตัวตน แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม อาทิเช่น ชื่อ หมายเลขประจำตัวบัตรประชาชน ข้อมูลสถานที่อยู่ ข้อมูลออนไลน์ ข้อมูลเอกลักษณ์ทางกายภาพ ทางจิตใจ ทางสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม ที่สามารถระบุตัวตนได้
|
• |
“บริษัท” หมายถึง บริษัท เซนเซส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะบริษัทย่อยของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
|
• |
“บริษัทในเครือ” หมายถึง บริษัทใดที่บริษัท หรือ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วรวมกันตั้งแต่หรือเกินกว่าร้อยละ 50 (บริษัทย่อยในลำดับชั้นแรก) รวมถึงบริษัทอื่นซึ่งบริษัทย่อยในลำดับชั้นแรกและ/หรือบริษัทย่อยในลำดับชั้นต่อๆ ไป ไม่ว่ากี่ชั้นถือหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วรวมกันตั้งแต่หรือเกินกว่าร้อยละ 50 และให้หมายรวมถึงคำนิยามของบริษัทในเครือตามกฎเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับกำหนดในปัจจุบัน หรือที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
|
• |
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
|
• |
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดา กรรมการหรือตัวแทนของนิติบุคคล รวมถึงตัวแทนของบุคคลดังกล่าว ซึ่งได้รับการให้บริการจากบริษัทไม่ว่าในรูปแบบใดๆ
|
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
• |
ข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือตัวแทนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับบุคคล ดังต่อไปนี้
- บริษัท
- บริษัทในเครือ
- บริษัทร่วม
- บริษัทในกลุ่มธุรกิจของบริษัท และ
- พันธมิตรทางธุรกิจของบริษัท
|
• |
การให้บริการผ่านทางช่องทางต่างๆ ของบริษัท เช่น บริการทางโทรศัพท์ |
• |
การให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยวิธีใดๆ รวมถึงการใช้บริการบนเว็บไซต์ของบริษัท แอปพลิเคชัน สื่อสังคมออนไลน์
|
• |
แหล่งข้อมูลอื่นซึ่งไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง เช่น หน่วยงานของรัฐ บริษัทในกลุ่ม คู่สัญญาของบริษัท เป็นต้น ซึ่งบริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่บริษัทมีความจำเป็นตามกรณีที่กฎหมายอนุญาต
|
ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่น ซึ่งผู้ให้ข้อมูลไม่ใช่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ผู้ให้ข้อมูลรับรองว่าตนมีสิทธิ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น และได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลโดยครบถ้วนแล้ว
3. ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป
คือ ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยบริษัทจะเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้
• |
ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ อายุ วันเกิด สถานภาพสมรส ที่อยู่ อาชีพ
|
• |
ข้อมูลการติดต่อ เช่น ที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ ไอดีไลน์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Email address)
|
• |
ข้อมูลซึ่งระบุตำแหน่งพื้นที่ขณะที่ใช้งานเว็บไซต์ กรณีที่เปิดการใช้งาน GPS system ให้ถือว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ความยินยอมกับบริษัทในการเก็บรวบรวมและประมวลผลตำแหน่งพื้นที่ขณะใช้งานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากต้องการปกปิดข้อมูลนี้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดตั้งโปรแกรมหรือปิดระบบ GPS บนโทรศัพท์มือถือได้
|
• |
ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสาร เช่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับคุกกี้ (Cookies) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ส่งจากเว็บไซต์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เรียกดูและโต้ตอบกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ของบริษัท
- หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP address)
- ชนิดของเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ที่ใช้ในการเข้าถึง
- หน้าเว็บ (Web Page) ที่เข้าเยี่ยมชม
- เว็บไซต์ที่อ้างถึงเว็บของบริษัท
- ข้อมูลการเชื่อมต่อผ่านช่องทางการเชื่อมต่อของเว็บไซต์
- ข้อมูลเชื่อมต่อผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยวิธีใดๆ
|
• |
ข้อมูลการใช้บริการ (ขึ้นอยู่กับบริการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำบนเว็บไซต์) เช่น การลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลการแจ้งเบาะแสหรือการร้องเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครงาน ข้อมูลการติดต่อผ่านทางเว็บไซต์และข้อมูลอื่นใดที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำกิจกรรมบนเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลการเชื่อมต่อผ่านช่องทางการเชื่อมต่อของเว็บไซต์
|
• |
ข้อมูลอื่นๆ เช่น เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย ตลอดจนการบันทึกภาพในระบบกล้องวงจรปิด
|
• |
ข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
|
ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทพิเศษ
คือ ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทพิเศษ ตามมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน โดยบริษัทจะเข้าถึง เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลด้วยความระมัดระวังตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทจะแจ้งข้อมูลรายละเอียดการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทพิเศษดังกล่าวต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนหรือขณะที่บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูล ภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
4. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะดำเนินการเก็บรวบรวมใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ในการใช้บริการที่บริษัทจัดทำขึ้น ตลอดจนเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่บริษัท และ/หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตาม และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ ดังนี้
• |
เพื่อการให้บริการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์
|
• |
เพื่อดำเนินการตามสัญญาที่ท่านเป็นคู่สัญญา รวมถึงกับคู่สัญญาที่บริษัทใช้บริการ เพื่อการปรับปรุง พัฒนา การให้บริการ อย่างมีประสิทธิภาพของบริษัท
|
• |
เพื่อการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งบริการแจ้งเตือน การตอบกลับเมื่อได้รับการติดต่อจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
|
• |
เพื่อการยืนยันตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการสรรหาบุคคล การระบุตัวตนของผู้มาติดต่อ การเข้าออกสำนักงาน ตามมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัย
|
• |
เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เฉพาะกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง
- เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริษัทในเครือ และ/หรือบริษัทร่วม รวมถึงการให้บริการและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับบริการดังกล่าว
- เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ และกิจกรรมของบริษัท
- เพื่อทำการตลาดทางตรง (Direct Marketing)
- เพื่อการวิจัยการตลาด การวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการส่งเสริมการตลาด รวมถึงการบริการอื่นๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต ให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บริการที่ดีขึ้นในการใช้งานเว็บไซต์
- เพื่อการจำเป็นในการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญา
- เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่นใดของบริษัทและบริษัทในเครือ
|
• |
เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัท
|
• |
เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือของบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใด
|
• |
เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ได้แจ้งก่อนหรือในขณะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใดดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
|
5. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ บริษัทจะมีการปรับปรุงและทดสอบระบบเทคโนโลยีของบริษัทอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลมีความปลอดภัยสูงสุดและน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ดี บริษัทอาจไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกกรณี ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคล เกิดสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล อันมีสาเหตุมาจากการถูกจู่โจมโดยไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือถูกจารกรรม โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (hack) หรือถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ปราศจากอำนาจ หรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย สูญหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุดังกล่าวทั้งสิ้น บริษัทแนะนำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกจู่โจมหรือจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ
6. การเปิดเผย และ/หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลภายนอก
บริษัทอาจใช้ดุลยพินิจแต่เพียงฝ่ายเดียวในการเปิดเผย และ/หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลที่สามซึ่งกำหนดตัวตนได้แน่นอน และมีนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด เท่าที่จำเป็นภายใต้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ รวมถึงบริษัทในเครือ บริษัทร่วม บริษัทในกลุ่มธุรกิจของบริษัท พันธมิตรทางธุรกิจ คู่สัญญาของบริษัท นิติบุคคลอาคารชุดรายอื่น หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด
7. การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
บริษัทอาจโอนข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมมาใช้ ไปยังต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการของบริษัทเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตกลงและยินยอมให้บริษัทส่งข้อมูลส่วนบุคคลออกนอกประเทศไทย ไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่อยู่ในประเทศอื่น หรือภายใต้เขตอำนาจกฎหมายของประเทศอื่น ไม่ว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศนั้นอาจถึงเกณฑ์หรือไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทยหรือไม่ ทั้งนี้ บริษัทจะปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการคุ้มครองรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลในระดับเดียวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย
8. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถแจ้งการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดังต่อไปนี้
• |
สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่บริษัทมี รวมทั้งสิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
|
• |
สิทธิในการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนอาจส่งให้บุคคลภายนอกหรือขอให้บริษัทส่งให้แก่บุคคลภายนอกโดยตรง
|
• |
สิทธิที่จะคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตน เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดและวัตถุประสงค์อื่นใด
|
• |
สิทธิที่จะขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อไม่มีความจำเป็น สำหรับวัตถุประสงค์ที่มีการจัดเก็บ รวมทั้งสิทธิที่จะจำกัดขอบเขตการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ไม่สามารถให้ลบได้
|
• |
สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่ไม่จำเป็นในการดำเนินกิจการของบริษัท
|
• |
สิทธิร้องขอให้บริษัทดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
|
• |
สิทธิที่จะร้องเรียนกับหน่วยงานที่ควบคุม ในกรณีที่เชื่อว่ามีการละเมิดสิทธิของตน
|
การใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด ประกาศ ระเบียบที่บริษัทกำหนด ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่บริษัทกำหนด โดยในการใช้สิทธิข้างต้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องส่งคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรมายังเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทตามรายละเอียดที่กำหนดในข้อ 13. ของนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ และการพิจารณาคำร้องดังกล่าวเป็นดุลยพินิจของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว คำวินิจฉัยของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นที่สุด
ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการบางประการ บริษัทอาจไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจไม่สามารถใช้บริการหรือสิทธิประโยชน์ของบริษัทได้ อย่างไรก็ตามการเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวมใช้เปิดเผยหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไปแล้ว
9. ข้อยกเว้นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การดำเนินการต่อข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
• |
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้วก่อนที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้เปิดเผยข้อมูลให้แก่บริษัท หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะโดยไม่ได้เกิดจากความผิดของบริษัท
|
• |
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวิธีการอื่นใด
|
• |
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามความจำเป็น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย คำสั่ง กฎข้อบังคับ คำสั่งศาล หน่วยงานของรัฐ หรือตามความจำเป็นอื่นใด
|
10. ระยะเวลาการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระยะเวลาเท่าที่จำเป็น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ หรือจนกว่าบริษัทจะได้รับแจ้งการขอเพิกถอนความยินยอมการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของบริษัท เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดหรืออนุญาตให้จัดเก็บไว้ได้นานกว่านั้น
11. การปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทขอสงวนสิทธิในการปรับปรุงให้ทันสมัย แก้ไข และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นดุลยพินิจของบริษัทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยการเปลี่ยนแปลงจะมีผลทันทีหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงได้ถูกประกาศบนเว็บไซต์ www.senses.co.th ทั้งนี้ บริษัทขอให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบนโยบายคุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทอยู่เสมอ โดยบริษัทจะถือว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยครบถ้วนแล้ว
12. กฎหมายที่ใช้บังคับ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะถูกควบคุมและตีความตามกฎหมายที่บังคับใช้ของประเทศไทย ข้อโต้แย้งใดๆ ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ รวมถึงสิทธิ ข้อผูกพัน และการดำเนินการทั้งหมดที่อยู่ภายใต้นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ จะถูกส่งไปยังศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีแห่งราชอาณาจักรไทย
13. ติดต่อเรา
หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสอบถาม ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน เกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โปรดติดต่อมายังเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท โดยผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
บริษัท เซนเซส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด
เลขที่ 900 อาคารต้นสนทาวเวอร์ ชั้น 6 ถนนเพลินจิต
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ช่องทางติดต่อทางอีเมล
dp@senses.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2565
SPM.4.2